วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รหัสวิชา  PC54505                                                                          3(2-2-5)
                  วิชานวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา
           Innovation, Technology and Information in Education
                    สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา
                                         คณะครุศาสตร์
                              มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
                                      ภาคเรียนที่ 1/2555
                       
_________________________________________________________________
คำอธิบายรายวิชา
     ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้  การวิเคราะห์  ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศ  แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการ เรียนรู้  การสร้าง  การออกแบบ  การนำไปใช้  การประเมินผล  การปรับปรุงนวัตกรรม  สามารถเลือกใช้  ออกแบบ  สร้าง  ปรับปรุงนวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษา  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี  สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย  และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน

วัตถุประสงค์
    เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
    1. อธิบายความหมายของนวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศได้
    2. ยกตัวอย่างนวัตกรรม  เทคโนโลยี และสารสนเทศที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้
    3. ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของนวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศได้
    4. บอกถึงปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศได้
    5. บอกความหมายและประเภทแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ได้
    6. อธิบายพื้นฐานการออกแบบการเรียนการสอนได้
    7. อธิบายรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
    8. ยกตัวอย่างรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
    9. อธิบายวิธีการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมได้
    10. เสนอแนวทางในการสร้าง  ปรับปรุงนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาได้อย่างน้อย 1 รายวิชา
    11. สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมได้
    12. ยกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศได้อย่างน้อย 3 เรื่อง

บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ

            บทบาท หมายถึง พฤติกรรมของบุคคลที่ถูกผู้อื่นคาดหวังว่าจะต้องแสดงออกให้สอดคล้องเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่การงานของบุคคลนั้น  (WEBER  :  1947)
            บทบาทการบริหาร หรือ บทบาทของผู้บังคับบัญชานั้น ตามทัศนะของอดิเซส  (ADIZES  :  1976) เห็นว่าถ้าจะบริหารองค์การให้มีประสิทธิภาพแล้ว จะต้องแสดงบทบาทการบริหาร 4 บทบาทด้วยกันคือ
1.     บทบาทในการเสริมสร้าง  (PRODUCING)
2.     บทบาทในการดำเนินการ (IMPLEMENTING)
3.     บทบาทในการเปลี่ยนแปลงพัฒนา (INNOVATING)
4.      บทบาทในการหล่อหลอม  (INTEGRATING)

บทบาทในการเสริมสร้าง

            คาดหวังไว้ว่าทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นองค์การหรือหน่วยงานใด เรากำลังมองหานักบริหารที่มีความเก่งพร้อมทั้ง 4 ด้าน คือ เก่งคิด เก่งคน เก่งงาน และเก่งข่าวสารข้อมูลเทคโนโลยี คุณสมบัติของผู้ประสบความสำเร็จในบทบาทการเสริมสร้างก็คือ มีความรู้ ความสามารถในงานสาขาที่ปฏิบัตินั้นเป็นอย่างดี เพื่อให้งานสร้างผลผลิตขององค์การเป็นผล บทบาทในการเสริมสร้างเน้นกิจกรรมต่าง ๆ ในอนุระบบเศรษฐกิจ/เทคโนโลยี

บทบาทในการดำเนินการ

            คาดหวังไว้ว่าผู้บริหารควรสามารถบริหารบุคคลซึ่งทำงานร่วมกับเขา และแน่ใจว่าบุคคลเหล่านี้สร้างผลผลิตได้ด้วย บทบาทในการดำเนินการนี้ผู้บริหารจะสร้างและกำหนดการประสานงานควบคุม และลงโทษทางวินัย ถ้าผู้บริหารสวมบทบาทผู้ดำเนินการ เขาจะดูว่าระบบได้ดำเนินการไปตามที่ได้ออกแบบกำหนดไว้ บทบาทในการดำเนินงานเน้นอนุระบบบริหาร/โครงสร้าง

บทบาทในการเปลี่ยนแปลงพัฒนา

            คาดหวังไว้ว่า เนื่องจากทุกวันนี้สภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วตลอดเวลา ผู้บริหารต้องใช้ดุลยพินิจ วินิจฉัย และมีอิสระที่จะตัดสินใจเปลี่ยนแปลงระบบซึ่งดำเนินการอยู่ได้ด้วยตนเอง  บทบาทในการเปลี่ยนแปลงพัฒนาเน้นในอนุระบบข่าวสารข้อมูล/การตัดสินใจสั่ง
การ

บทบาทในการหล่อหลอม

            คาดหวังไว้ว่า ผู้บริหารควรสามารถหล่อหลอมคนในองค์การได้นั่นคือ การที่ผู้บังคับบัญชาทำให้ กลุ่มบุคคลสามารถปฏิบัติงานด้วยตัวเอง โดยมีทิศทางที่ชัดเจนในจิตใจและสามารถเลือกทิศทางในการปฏิบัติงานให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายและกลยุทธ์ขององค์การ การหล่อหลอมเน้นในอนุระบบบุคคล/สังคม
            เอดิเชล  อภิปรายว่า เมื่อไรก็ตามที่บทบาทการบริหารบทบาทหนึ่งใน บทบาทถูกละเลยไม่ได้รับการปฏิบัติในองค์การแล้ว มักจะปรากฏว่ามีสิ่ง
บอกเหตุให้สังเกตได้ว่ารูปแบบการบริหารนั้น เป็นรูปแบบการบริหารที่ผิดหลักการ เอดิเชสได้เน้นว่า ถ้าผู้บังคับบัญชาไม่ได้แสดงบทบาทในด้านการ
หล่อหลอมแล้ว
         ผู้บังคับบัญชาเองจะกลายเป็น ผู้สร้างวิกฤตการณ์” “ผู้ติดอยู่กับระบบราชการหรือไม่ก็เป็น เจ้านายผู้อยู่อย่างโดยเดี่ยว

บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชา

            นักวิชาการบริหาร ได้เสนอแนะไว้ว่า บทบาทหน้าที่ผู้บริหารต้องรับผิดชอบ ควรจะครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
1.      นักวิเคราะห์สภาพแวดล้อม  (ENVIRONME
2.      แหล่งข่าว  (INFORMATION  CENTER)
3.      ผู้ตัดสินใจ  (DECISION  MAKER)
4.      นักวางแผน  (PLANNER)
5.      ผู้จัดสายงาน  (ORGANIZER)
6.      ักบริหารงานบุคคล  (PERSONNEL  MANAGER)
7.      นักพัฒนา-ฝึกอบรม  (DEVELOPER,  TRAINER)
8.      ผู้นำ  (Leader)
9.      นักจูงใจ  (MOTIVATOR)
11.  นักปฏิบัติ  (ACTION  TAKER)
12.  ผู้ควบคุมติดตามผล  (CONTROLLER)
13.  นักเปลี่ยนแปลง  (CHANGE  AGENT)
ความซื่อสัตย์ ( Integrity ) ” ในการทำงาน .... สำคัญไฉน
          ก่อนอื่นต้องถามตัวคุณเองก่อนว่า คุณมีความซื่อสัตย์ ( Integrity) ในการทำงานมากน้อยแค่ไหน และแน่นอนว่าคงจะไม่มีใครตอบว่าตนเองไม่มีความซื่อสัตย์ ความซื่อสัตย์จึงเป็นคุณลักษณะที่สำคัญและเป็นที่ต้องการในทุกองค์การ ซึ่งความซื่อสัตย์นอกจากจะหมายถึงการ รักษาความลับ ผลประโยชน์ และทรัพย์สินต่าง ๆ ของบริษัทแล้ว ความซื่อสัตย์ยังหมายรวมไปถึงการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและไม่บิดเบือนจากความเป็นจริง และการปฏิบัติตามระเบียบหรือกฎของบริษัท และยังพบว่าอีกว่ามีหลายองค์การได้กำหนดความซื่อสัตย์เป็นวัฒนธรรมองค์การ (Corporate Culture) หรือคุณค่าร่วม ( Core Value) ที่เกี่ยวข้องกับความคิดความเชื่อที่อยากให้พนักงานทุกคนปฏิบัติ
          แล้วทำไมคุณจะต้องมีความซื่อสัตย์ในการทำงาน ..... ความซื่อสัตย์ในการทำงานจะส่งผลโดยตรงต่อคุณลักษณะส่วนบุคคล ( Personal Attribute) ของตัวคุณเองที่คนอื่นมองหรือรับรู้ในตัวคุณว่าเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์หรือไม่ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงผลต่อเนื่องไปยังหน่วยงานและองค์การของคุณเอง ทั้งนี้คุณลักษณะของความซื่อสัตย์จะมีความสำคัญและส่งผลต่อตัวคุณและต่อหน่วยงานหรือองค์การของคุณ ขอสรุปได้ดังต่อไปนี้ 
         
1. การได้รับ ความไว้วางใจ จากหัวหน้างานของคุณ พนักงานที่มีความซื่อสัตย์ย่อมทำให้หัวหน้างานพร้อมและกล้าพอที่จะมอบหมายงานที่สำคัญหรือเป็นความลับของบริษัทให้กับคุณ เพราะหัวหน้าไว้วางใจตัวคุณเพราะรู้ว่างานที่มอบหมายให้ไปนั้นคุณต้องทำเสร็จและข้อมูลที่คุณทำนั้นมีความถูกต้องอย่างแน่นอน 
         
2. ความน่าเชื่อถือ ได้ของตัวคุณ คุณจะได้รับการยอมรับและการกล่าวถึงในทางที่ดีจากบุคคลรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง หรือแม้กระทั่งลูกค้าของคุณเอง เช่น ยอมรับว่าคุณมีความรับผิดชอบและความตั้งใจทำงาน เนื่องจากคุณไม่เคยที่จะขาดงานหรือมาสาย รวมทั้งข้อมูลที่คุณให้นั้นมีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันเสมอ 
         
3. สร้างผลงาน ( Performance) ของตัวคุณ ความซื่อสัตย์ทำให้คุณมีโอกาสทำงานใหญ่หรือสำคัญ ซึ่งอาจเป็นงานที่มีผลกระทบต่อหน่วยงานหรือองค์การ โดยคุณจะมีโอกาสแสดงฝีมือการทำงานของคุณและโอกาสนี้เองย่อมจะส่งผลต่อเนื่องไปยังผลผลการปฏิบัติงาน     ( Performance) และมูลค่าเพิ่ม ( Added Value) ของตัวคุณเอง 
         
4. รักษาผลประโยชน์ของหน่วยงาน/บริษัท หากคุณมีความซื่อสัตย์แล้วล่ะก็ ย่อมหมายถึงคุณไม่ได้เอาเปรียบหน่วยงานและบริษัท เนื่องจากคุณทำงานอย่างเต็มที่ ได้ปฏิบัติตามระเบียบและรักษาทรัพย์สินของบริษัท และรวมถึงคุณไม่เอาความลับของบริษัทไปเปิดเผยให้คู่แข่งรับรู้ ซึ่งหมายถึงคุณกำลังรักษาผลประโยชน์ให้กับหน่วยงานและบริษัทของคุณเอง
          มาถึงคำถามที่ว่า หากจะวัดหรือประเมินความซื่อสัตย์ได้อย่างไร เช่น หากถามว่านาย ก มีความซื่อสัตย์มากกว่านาย ข นั้น เราจะพิจารณาหรือประเมินได้จากอะไรได้บ้าง และเพื่อทำให้องค์การสามารถประเมินหรือวัดความซื่อสัตย์ได้ จึงทำให้องค์การได้กำหนดความซื่อสัตย์เป็นพฤติกรรมหรือความสามารถอย่างหนึ่ง ( Competency) ซึ่งสามารถกำหนดได้เป็นความสามารถหลัก ( Core Competency) ที่เป็นความสามารถหรือพฤติกรรมที่ใช้วัดหรือประเมินพนักงานสำหรับทุกคนและทุกตำแหน่งงาน นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดเป็นความสามารถในงาน ( Job Competency) ได้อีกด้วย ซึ่งพฤติกรรมของความซื่อสัตย์นั้นสามารถกำหนดเป็นพฤติกรรมออกมาแยกเป็นระดับต่าง ๆ เพื่อใช้ประเมินผลและพัฒนาพนักงานได้ โดยขอยกตัวอย่างของการแบ่งพฤติกรรมความซื่อสัตย์ออกเป็น 5 ระดับ ดังต่อไปนี้
ระดับ
ลักษณะพฤติกรรม
1 (ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดอย่างมาก)
•  ให้ข้อมูลที่บิดเบือนจากความเป็นจริง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาหรือความเข้าใจผิดได้ •  หลีกเลี่ยงการตักเตือนหรือแจ้งผู้ที่ทำผิดระเบียบหรือกฎของบริษัท •  ปฏิเสธและไม่ยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น โดยมักจะอ้างถึงผู้อื่นอยู่เสมอ •  ละเมิดระเบียบหรือกฎของบริษัทอยู่เสมอ
2 (ต่ำกว่ามาตรฐาน ที่กำหนด)
•  ดูแลและรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของบริษัทบ้างเป็นบางครั้ง •  ตักเตือนหรือแจ้งผู้ที่ทำผิดระเบียบหรือกฎของบริษัทเท่าที่จำเป็น •  ไม่ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎของบริษัทเป็นบางครั้ง
3 (ตามมาตรฐาน ที่กำหนด)
•  รับฟังและไม่นำข้อมูลของผู้อื่นมาเปิดเผย •  ดูแลและรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของบริษัทอยู่เสมอ •  ไม่นำทรัพย์สินของบริษัทมาใช้ประโยชน์ส่วนตัว •  ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎของบริษัทอยู่เสมอ
4 (สูง/เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด)
•  ไม่เปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานที่อาจสร้างความขัดแย้งหรือปัญหาให้เกิดขึ้นได้ •  ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสมกับกลุ่มคน เวลา และสถานการณ์ •  ตักเตือนสมาชิกในทีมเมื่อทำผิดระเบียบหรือกฎของบริษัท •  ยอมรับและหาทางแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการทำงานของตนเอง
5 (สูง/เกินกว่า มาตรฐานที่กำหนดอย่างมาก)
•  แจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องเมื่อพบเห็นพนักงานในองค์กรทำผิดระเบียบหรือกฎของบริษัท •  ปลุกจิตสำนึกให้สมาชิกทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานมีจรรยาบรรณและคุณธรรมในการทำงานและในวิชาชีพของตน •  นำทรัพย์สินของตนเองมาใช้เพื่อให้การทำงานประสพผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด
         ดังนั้น ความซื่อสัตย์จึงเป็นพฤติกรรมหรือความสามารถด้านหนึ่งที่คุณเองไม่ควรละเลยหรือเพิกเฉย คุณควรเริ่มสำรวจตัวเองว่าคุณมีความซื่อสัตย์ในการทำงานหรือไม่ และอยู่ในพฤติกรรมระดับไหน ทั้งนี้ขอให้คุณเปิดใจพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตนเองให้มีความซื่อสัตย์ในการทำงาน ซึ่งคุณเองอาจลืมหรือคิดไม่ถึงว่าพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของตัวคุณเองนั้นจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ปรากฏต่อสายตาของผู้อื่นและบุคคลรอบข้าง และจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงผลประโยชน์ที่หน่วยงานและองค์การจะได้รับ
samitachung